Blog : [Ecommerce Guide]

ทำความรู้จัก Dropshipping ขายของได้โดยไม่ต้องสต็อก!

ในวงการขายของออนไลน์สมัยนี้ Dropshipping ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของระบบบริหารและจัดการคลังสินค้าที่ฮอตฮิตที่สุด เพราะเปิดโอกาสให้ธุรกิจ Ecommerce สามารถ outsource การจัดซื้อ จัดเก็บ และจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าได้ครบ จึงเป็นระบบที่ดึงดูดผู้ประกอบการหน้าใหม่ เพิ่งเริ่มเข้าสู่วงการธุรกิจ และยังมีเงินลงทุนไม่สูงนัก

แต่ด้วยความที่วงการ Ecommerce มีการแข่งขันสูง Dropshipping จึงอาจเหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มต้นด้วยการขายสินค้าทั่วไป และมักแข่งขันกันด้วยราคา ดังนั้นหากมองโอกาสในการสร้างธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จระยะยาว ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการสร้างแบรนด์และสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าอยู่มาก วันนี้ Amazon Global Selling Thailand จะพามาเจาะลึกทุกซอกทุกมุมเกี่ยวกับธุรกิจ Dropshipping กันค่ะ

Dropshipping คืออะไร

Dropshipping คือระบบที่ทำให้คุณสามารถจ้างคนนอกมาบริหารและจัดการคลังสินค้าเพื่อส่งต่อให้กับลูกค้าได้ คนนอกในที่นี้มักจะเป็นซัพพลายเออร์ ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการผลิต จัดเก็บ และขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า

ผู้ประกอบการ Ecommerce บางคนสนใจโมเดลธุรกิจออนไลน์นี้ เพราะ Dropshipping ช่วยลดค่าใช้จ่ายและค่าดำเนินการได้ ในบางกรณี คุณแค่รับผิดชอบในส่วนของกลยุทธ์การตลาดและ Customer Service ส่วนหน้าที่จัดการสินค้าและระบบ Fulfillment ก็ยกให้เป็นเรื่องของ Dropshipping ไปเลย
ทำความรู้จัก Dropshipping

Dropshipping ทำงานอย่างไร

Dropshipping เป็นรูปแบบธุรกิจที่เปิดโอกาสให้คุณจ้างซัพพลายเออร์มาบริหารและจัดการสินค้า เมื่อลูกค้ากดสั่งซื้อสินค้า กระบวนการทำงานของ Dropshipping ก็มักจะเรียงตามลำดับต่อไปนี้

1. ซัพพลายเออร์ Dropshipping จัดหาหรือผลิตสินค้า
2. คุณทำข้อตกลงกับซัพพลายเออร์ Dropshipping
3. ซัพพลายเออร์ Dropshipping จัดเก็บสินค้าเข้าคลัง
4. คุณทำหน้าร้าน Ecommerce หรือเว็บไซต์ร้าน
5. ลูกค้าสั่งซื้อสินค้า
6. คุณดำเนินการชำระเงินจากลูกค้า
7. คุณส่งต่อคำสั่งซื้อให้กับบริการ Dropshipping
8. บริการ Dropshipping จัดเตรียมคำสั่งซื้อ
9. บริการ Dropshipping จัดส่งสินค้า

โดยปกติแล้ว คุณแค่ส่งคำสั่งซื้อให้ผู้บริการ Dropshipping จากนั้นก็แจ้งลูกค้าว่ากำลังดำเนินการส่งออกสินค้า ส่วนเรื่องระบบขนส่งหรือ Fulfillment ก็จะปล่อยให้อีกฝั่งจัดการไป

ตัวละครหลักในโมเดล Dropshipping

มาดูกันว่าวงการนี้จะมีใครเป็นตัวละครหลักและมีบทบาทอะไรบ้างโดยละเอียด เริ่มจากผู้ขาย (Seller of Record) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าของธุรกิจ Ecommerce แบบคุณนั่นเอง

ผู้ขาย (Seller of Record)

ขั้นตอนการทำ Dropshipping เริ่มที่ตัวคุณ ในฐานะผู้ขายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภค (Seller of Record หรือ SoR) โดยคุณจะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า บันทึกการสั่งซื้อในรูปแบบของรายได้ และรับผิดชอบด้านภาษีการขาย ต่อให้คุณจ้างคนนอกมาทำสต็อกและจัดส่งสินค้า คุณก็ยังคงอยู่ในฐานะของผู้ขายอยู่ดี เพราะคุณเป็นเจ้าของสินค้าก่อนที่จะถูกส่งไปสู่ลูกค้า

จากนโยบาย Dropshipping ของ Amazon ผู้ขาย Amazon ได้รับอนุญาตให้ใช้บริการ Dropshipping ได้ ตราบใดที่คุณคือผู้ขาย (Seller of Record) และสามารถระบุตัวตนได้

ผู้ผลิตสินค้า (Manufacturers)

ผู้ผลิตสินค้า คือ ผู้ที่ผลิตสินค้าขึ้นมาเพื่อขายต่อให้ผู้ค้าปลีกและค้าส่ง คุณสามารถสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตได้ แต่การซื้อสินค้าจำนวนมากอาจเป็นอุปสรรคในการขยายธุรกิจออนไลน์ของคุณ นอกจากนี้ ผู้ผลิตสินค้าบางเจ้าก็มีบริการ Dropshipping ให้เช่นกัน

ผู้ค้าส่ง (Wholesalers)

ตามปกติของห่วงโซ่ Product Supply Chain ผู้ค้าส่งมักสั่งซื้อสินค้ามาจากผู้ผลิตสินค้า และขายต่อให้กับผู้ค้าปลีกในราคาที่สูงกว่าเดิมเล็กน้อย โดยผู้ค้าส่งจะทำหน้าที่เหมือนพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากจะไม่ขายของให้กับผู้บริโภคโดยตรง แต่อาจให้บริการ Dropshipping แก่ผู้ค้าปลีกแทน

การตัดสินใจว่าผู้ให้บริการ Dropshipping เจ้าไหนที่ใช่นั้นขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจ ข้อกำหนดในระบบบริหาร และจัดการคลังสินค้าของคุณ รวมทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

ข้อดีและข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำ Dropshipping

Ecommerce มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ไม่ว่าจะใช้วิธี Fulfillment แบบใดก็ตาม แต่จะได้คุ้มค่าหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและสถานการณ์ของธุรกิจของคุณเป็นหลัก มาดูกันว่ามีข้อดีหรือข้อเสียอะไรที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง เพื่อที่คุณจะได้พิจารณาว่า Dropshipping คือตัวเลือกที่ใช่สำหรับธุรกิจออนไลน์ของคุณรึเปล่า

ข้อดีของ Dropshipping

ค่าใช้จ่าย: เนื่องจากไม่จำเป็นต้องจัดเก็บหรือส่งออกสินค้าเอง การทำ Dropshipping จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายจำพวกค่าบำรุงรักษาคลังสินค้าหรือค่าส่งสินค้าได้
ต้นทุน: ผู้ประกอบการที่อยากเริ่มทำธุรกิจด้วยเงินทุนไม่มากสามารถหันมาทำ Dropshipping ได้ เพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนไปกับเครื่องไม้เครื่องมือหรือทรัพยากรในการดำเนินการคำสั่งซื้อ
ขายได้หลายช่องทาง: คุณสามารถทำ Dropshipping โดยขายของออนไลน์บนเว็บไซต์ของคุณเอง ไปจนถึงการทำร้านค้าบน Amazon หรือขายผ่านโซเชียลมีเดีย หรือจะขายทุกช่องทางที่กล่าวมาเลยก็ยังได้
ทำที่ไหนก็ได้: Dropshipping ให้คุณบริหารและจัดการคำสั่งซื้อได้ทุกที่ คุณจึงสามารถทำงานที่ไหนก็ได้
ขยายกำลังการผลิตได้ตามต้องการ: สามารถต่อรองกับซัพพลายเออร์ให้รองรับคำสั่งซื้อได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องขยายคลังสินค้าที่คุณเอาไว้แพ็กและส่งออกสินค้า

ข้อจำกัดของ Dropshipping

การแข่งขัน: Dropshipping ถือเป็นวงการที่มีการแข่งขันสูง เพราะใช้งบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นไม่มาก
คุณภาพสินค้า: Dropshipping ทำให้คุณมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการสินค้าน้อยลง จึงไม่สามารถสอดส่องดูแลและการันคุณภาพสินค้าได้เท่าที่ควร
Branding: เนื่องจากสินค้าที่ขายมักเป็นของทั่วไปที่อาจไม่ได้โดดเด่นเมื่อเทียบกับข้อเสนอจากเจ้าอื่น การนำเสนอโปรโมชั่นให้แตกต่างจึงอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ขาย
กำไร: พอสินค้าไม่ได้มีความแตกต่าง คุณก็อาจลงเอยด้วยการลดราคาแข่งกับเจ้าอื่น ผลที่ตามมา คือ กำไรน้อยลง
ระยะเวลาการทำ Fulfillment: เมื่อผู้ให้บริการ Dropshipping เข้ามาจัดการระบบ Fulfillment คุณจะไม่สามารถควบคุมการเลือกคำสั่งซื้อ การแพ็ก หรือการส่งสินค้าได้เลย
การจัดการสินค้าคงคลัง: การจะได้อัปเดตนาทีต่อนาทีว่ามีจำนวนสินค้าเหลืออยู่ในคลังเท่าไหร่นั้นเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าลูกค้ากดสั่งแล้วพบว่าสินค้าหมด ก็จะเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีที่ส่งผลต่อการสั่งซื้อครั้งต่อไป และยังสร้างความเสียหายให้กับแบรนด์ของคุณอีกด้วย
ความหลากหลายในการนำเสนอโปรโมชั่น: เนื่องจากคุณไม่ได้รับผิดชอบในส่วนของ Fulfillment จึงอาจเกิดข้อจำกัดในการนำเสนอโปรโมชั่น อาทิ ซื้อเป็นชุดถูกกว่า หรือส่งฟรี

ในบางธุรกิจ เมื่อเทียบข้อดีข้อเสียแล้ว การทำ Dropshipping ก็ยังถือว่าได้ประโยชน์มากกว่า หากคุณมองหาบริการคลังสินค้าและ Fulfillment ราคาไม่แพง บริการ Fulfillment by Amazon อาจเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะสำหรับผู้ขายบางคน FBA ก็สามารถให้บริการ Dropshipping พร้อมสิทธิประโยชน์มากมายในราคาย่อมเยาว์ได้

กรณีศึกษา Hope & Henry ใช้ FBA สร้างแบรนด์อย่างไรให้โตไว

“เราเปิดตัวสินค้าได้โดยที่ไม่ต้องมีศูนย์กระจายสินค้า เราปล่อยสินค้าได้โดยที่ไม่ต้องมีพนักงานของเรามาบริหารและจัดการคลังสินค้า ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่นะ”

แมตต์ แม็คคอลลีย์ CEO และผู้ก่อตั้งแบรนด์เสื้อผ้า Hope & Henry

Fulfillment by Amazon: ตัวเลือกการทำ Dropshipping พร้อมสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

บริการ Fulfillment by Amazon (FBA) นำเสนอสิทธิประโยชน์ในการทำ Dropshipping และยังให้คุณควบคุมแบรนด์ได้มากกว่า แม้ว่า Amazon จะเป็นช่องทางขายที่ควรค่าแก่การลอง เพราะมีผู้เยี่ยมชมแพลตฟอร์มหลายร้อยล้านคนต่อเดือน แต่คุณไม่จำเป็นต้องขายของออนไลน์บน Amazon เพื่อที่จะใช้บริการ FBA ก็ได้

ด้วยบริการ FBA คุณจะได้เก็บสินค้าไว้ในศูนย์ Fulfillment ของ Amazon จากนั้นเราจะจัดการทำสิ่งเหล่านี้ให้

● ส่งไวด้วย Prime Shipping
● จัดการ Customer Service ให้
● ดูแลการคืนสินค้า
● แจ้งเตือนคุณเมื่อต้องรีสต็อกสินค้า

บริการ FBA ทำงานอย่างไร

● คุณเลือกสินค้าและปริมาณที่ต้องการจะให้เราช่วยจัดการ จากนั้นส่งสินค้ามาให้กับเรา
● เรานำสินค้าเข้าสู่เครือข่ายของเราและเก็บไว้ที่ศูนย์ Fulfillment ของ Amazon
● เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา เราจะเลือกสินค้า แพ็กสินค้า และส่งออกส่งสินค้าให้กับคุณ
● Amazon จะช่วยจัดการเรื่อง Customer Service และดูแลการคืนสินค้า
© 2021, Amazon.com Services LLC.