Blog : [Ecommerce Guide]

Ecommerce คืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และเพราะอะไรจึงควรลงทุนในธุรกิจนี้

Ecommerce คืออะไร

Ecommerce หรือ อิเล็กทรอนิก คอมเมิร์ซ คือ การขายสินค้าหรือบริการบนอินเทอร์เน็ตผ่านการนำข้อมูลมหาศาลมาแปลงโฉมให้เป็นย่านค้าขายกลางเมืองหรือร้านค้าปลีกบนโลกอินเทอร์เน็ต ในปีนี้ คาดว่าจะมีผู้คนกว่า 2.4 พันล้านคนทั่วโลกซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ และจำนวน 150 ล้านคนเป็นสมาชิกระดับ Prime ที่ซื้อสินค้ากับ Amazon

Ecommerce เป็นหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่ผู้คนใช้ซื้อและค้าขายปลีก บางบริษัทเน้นขายของออนไลน์อย่างเดียว แต่ในอีกหลายแห่ง Ecommerce เป็นช่องทางค้าขายที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดที่รวมไปถึงการมีหน้าร้านและช่องทางสร้างกำไรอื่น ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะทางไหน Ecommerce ก็ทำให้ทั้งสตาร์ทอัพ ธุรกิจขนาดเล็กและบริษัทใหญ่ได้ขยายการขายสินค้า แถมได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั่วโลกอีกด้วย

เว็บไซต์ Ecommerce คืออะไร

เว็บไซต์ Ecommerce คือ หน้าร้านของคุณบนอินเทอร์เน็ต ช่วยอำนวยความสะดวกในการจ่ายเงินระหว่างคนขายและคนซื้อ เป็นพื้นที่ให้คุณได้โชว์สินค้าที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ เว็บไซต์ทำหน้าที่เป็นชั้นวางสินค้า พนักงานขาย และแคชเชียร์แห่งโลกขายของออนไลน์

หลายธุรกิจอาจใช้วิธีสร้างแบรนด์ร้านค้าบน Amazon หรือสร้างเว็บไซต์คอมเมิร์ซโดยใช้โดเมนของตัวเอง หรือทำทั้งสองวิธีไปเลยก็มี
E-Commerce คืออะไร

ประเภทของ Ecommerce มีอะไรบ้าง

เพราะการช้อปปิ้งออนไลน์มีหลายรูปแบบ Ecommerce จึงมีความหลากหลายตามไปด้วย ตัวอย่างโมเดลธุรกิจหลัก ๆ ที่สร้างโลก Ecommerce ได้แก่

● B2C – ธุรกิจที่ขายของให้กับผู้บริโภครายคนโดยตรง (ผู้ใช้ปลายทาง) เป็นโมเดลเห็นได้ทั่วไปและแบ่งออกได้อีกหลายแขนง
● B2B – ธุรกิจที่ขายของให้กับอีกธุรกิจ และบ่อยครั้งก็นำสินค้าไปขายต่อให้กับผู้บริโภคอีกที
● C2B – ผู้บริโภคขายของให้กับธุรกิจ หมายถึง การที่ลูกค้านำสินค้ามาขายต่อให้กับบริษัท
● C2C – ผู้บริโภคขายของให้กับผู้บริโภค โดยธุรกิจสามารถสร้าง Online Marketplace คือ พื้นที่ ๆ ให้ทั้งคนซื้อและคนขายมาเจอกันได้
● B2G – ธุรกิจที่ขายของให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐ
● C2G – ผู้บริโภคขายของให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐ
● G2B – รัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐขายของให้กับธุรกิจ
● G2C – รัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐขายของให้กับผู้บริโภค

Ecommerce เกิดขึ้นที่ไหนและอย่างไร

วงการช้อปปิ้งออนไลน์พัฒนาขึ้นทุกวัน ผู้คนสั่งซื้อของโดยใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ พวกเขาใช้เว็บไซต์ ดูเพจต่าง ๆ บน Social Media และเริ่มเข้าสู่ช่องทางที่ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ทุกวันนี้ ภาพรวมของการทำ Ecommerce มีอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ

M-Commerce

โมบายคอมเมิร์ซ หรือ M-Commerce คือ การซื้อขายออนไลน์ที่เกิดขึ้นบนโทรศัพท์ ด้วยจำนวนอุปกรณ์พกพาที่ผู้บริโภคครอบครองทั่วโลก เรื่องที่คาดการณ์ว่า M-Commerce จะแซงหน้า Non-mobile Commerce ในปี 2021 ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอีกต่อไป

ยุคนี้ผู้คนจำนวนมากหาข้อมูลสินค้าและสั่งซื้อออนไลน์ผ่านโทรศัพท์ และเทรนด์นี้ก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแต่อย่างใด การปรับร้านค้าออนไลน์ให้ใช้งานได้ดีผ่านโทรศัพท์จึงเป็นเรื่องสำคัญ

Enterprise Ecommerce

Enterprise Ecommerce คือ การซื้อขายสินค้ากับบริษัทหรือองค์กรใหญ่ ถ้าธุรกิจใหญ่มีการขายสินค้าหลายประเภทหรือมีหลายแบรนด์แยกออกมาขายออนไลน์ก็จะนับว่าเป็น Enterprise Ecommerce เช่นกัน

Social Media Ecommerce

Social Media สามารถช่วยให้คุณทำแผนการตลาดออนไลน์ โปรโมทร้านค้ากับกลุ่มคนที่ใหญ่กว่าเดิม และยังมีศักยภาพที่จะดึงดูดลูกค้าเข้ามาหาได้ เหมือนที่มันเชื่อมคุณกับเพื่อนและครอบครัวเข้าไว้ด้วยกัน หากทำการตลาดผ่าน Social Media ได้ดี ก็จะสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นกันเองกับลูกค้าได้เช่นกัน

สิ่งที่ Social Media ช่วยคุณได้
● ดึงดูดลูกค้าใหม่
● สร้าง Brand Awareness ทำให้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น
● สร้างยอดขายออนไลน์
ข้อดีข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดีและข้อเสียของ Ecommerce มีอะไรบ้าง

พอธุรกิจออนไลน์เริ่มโต เจ้าของแบรนด์ Ecommerce ส่วนใหญ่มักถึงจุดที่ต้องตัดสินใจว่าควรจะขยายทีม หาวิธีเก็บของ จัดการสต็อกและส่งของให้ได้มากกว่าเดิม หรือจะใช้บริการ Fulfillment ไปเลย ซึ่งมีทางออกที่เป็นไปได้ ดังนี้

ข้อดีของ Ecommerce

การขายของออนไลน์นั้นมีข้อดีมากมาย ซึ่งประโยชน์หลักๆ ของ Ecommerce ได้แก่

● โตขึ้นเรื่อย ๆ
● เข้าถึงตลาดได้ทั่วโลก
● สั่งออนไลน์ง่าย
● โดยทั่วไปมักมีค่าดำเนินการน้อยกว่า
● ลูกค้าเข้าถึงได้โดยตรง

ประเด็นเหล่านี้คือแรงจูงใจสำคัญในการทำ Ecommerce ลองมาดูรายละเอียดกันว่ามีอะไรบ้าง

รีเทล Ecommerce โตขึ้นเรื่อย ๆ

นับจาก 12 เดือนที่แล้วจนถึง 31 พฤษภาคม 2020 ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในสหรัฐอเมริกาขายสินค้าได้มากกว่า 3.4 พันล้านชิ้นผ่านร้านค้าใน Amazon จากเดิม 2.7 พันล้านชิ้นในปีที่ผ่านมา โดยรวมแล้ว ยอดขาย Ecommerce พุ่งขึ้นกว่า 30% ในปี 2020 แม้ว่าสาเหตุที่เพิ่มขึ้นจะมาจากการระบาดของโควิด-19 แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังคาดว่าเทรนด์นี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ

เข้าถึงตลาดได้ทั่วโลก

สมัยก่อน การจะเข้าถึงธุรกิจได้นั้นจำกัดอยู่แค่ตัวเลขของลูกค้าที่ได้เดินเข้าร้าน แต่สมัยนี้ ขายของออนไลน์ต่างประเทศก็เป็นไปได้ด้วย Ecommerce การใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียที่พุ่งสูงขึ้นทำให้เจ้าของธุรกิจ Ecommerce สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายกว่าเดิม

สั่งง่าย

ด้วยความหลากหลายของ Ecommerce ลูกค้าสามารถเลือกดูสินค้าและสั่งซื้อจากที่ไหนก็ได้ในไม่กี่คลิก นอกจากนี้ Amazon ยังช่วยให้คุณเรียงลำดับและเปรียบเทียบสินค้าจากราคาหรือฟีเจอร์ได้ง่ายๆ พร้อมนวัตกรรมอย่าง Amazon Pay ทำให้ขั้นตอนจ่ายเงินออนไลน์สะดวกขึ้นไปอีกขั้น

ค่าดำเนินการน้อยกว่า

การสร้างและดำเนินการเว็บไซต์ใช้เงินน้อยกว่าการทำร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คุณสามารถสร้างธุรกิจ Ecommerce ได้โดยที่ไม่ต้องไปเช่าที่ จ้างพนักงาน หรือต้องมีโกดังเก็บของขนาดใหญ่

ด้วยประโยชน์เหล่านี้ทำให้ Ecommerce มีค่าดำเนินการน้อยกว่า คุณไม่ต้องจ่ายค่าเช่าหรือกังวลเรื่องค่าซ่อมบำรุงตึก เมื่อเข้าสู่โลกออนไลน์ ร้านของคุณก็จะเปิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่ต้องนั่งเฝ้าร้านหรือจ้างคนดูแลเหมือนร้านค้าแบบดั้งเดิม

นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้เครื่องมือและบริการสร้างเว็บไซต์เพื่อสร้างร้าน Ecommerce ของคุณได้อย่างรวดเร็ว หรือจะไม่ทำเว็บแต่ทำแบรนด์ลง Social Media หรือสมัครบัญชีผู้ขายกับ Amazon ก็ได้เช่นกัน เป็นเรื่องธรรมดาที่ธุรกิจจะมีช่องทางขายออนไลน์ที่หลากหลาย

ลูกค้าเข้าถึงได้โดยตรง

อินเทอร์เน็ตทำให้แบรนด์ Ecommerce สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง คุณไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อทำป้ายบิลบอร์ดขนาดยักษ์หรือโฆษณาทีวีเพื่อให้ลูกค้าสนใจ สำหรับ Ecommerce คุณแค่ต้องปรับแบรนด์ มีหลักการตลาดพร้อมการนำเสนอโปรโมชั่นพิเศษ

ความท้าทายในการทำ Ecommerce

แม้ Ecommerce จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลย บางธุรกิจอาจหลีกเลี่ยงการทำ Ecommerce ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

● ข้อจำกัดในการเจรเจา
● ปัญหาทางเทคนิค
● ความปลอดภัยของข้อมูล
● การจัดการขนส่งสินค้าและระบบ fulfillment เมื่อต้องขยายธุรกิจ

ข้อจำกัดในการเจรจา

ธุรกิจและธุรกรรมบางประเภทจำเป็นต้องใช้การเจรจาตัวต่อตัว ขึ้นอยู่กับสินค้า บริการ หรือสไตล์การขาย การนำเสนอบุคลิกบนโลกออนไลน์จึงอาจเป็นเรื่องท้าทาย

แม้จะยังไม่มีวิธีแก้ปัญหานี้ได้พริบตา แต่สิ่งที่คุณทำได้คือให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ วิธีนี้จะช่วยให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ หรือถ้าคุณสะดวกที่จะสื่อสารกับลูกค้าด้วยอีเมลหรือโทรศัพท์มากกว่าก็สามารถทำได้เช่นกัน

ปัญหาทางเทคนิค

ปัญหาทางเทคนิคที่อยู่นอกเหนือการควบคุมสามารถส่งผลกระทบกับยอดขายในเชิงลบได้ เช่นเดียวกับเหตุขัดข้องในกระบวนการผลิตที่มีผลต่อการส่งสินค้า ปัญหาอินเทอร์เน็ต หรือฮาร์ดไดร์ฟพัง สิ่งเหล่านี้ทำให้คุณเสียทั้งเวลาและเงินทั้งสิ้น

แต่ใช่ว่าทุกปัญหาทางเทคนิคจะไม่มีทางแก้หรือทางป้องกัน การสำรองข้อมูลอยู่เรื่อยๆ รวมถึงการเลือกขายบน Amazon ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ เพราะมีระบบและโครงสร้างพื้นฐานที่น่าเชื่อถือ

ความปลอดภัยของข้อมูล

ปัจจุบันนี้ ลูกค้ามีความระมัดระวังมากขึ้นว่าข้อมูลของพวกเขาถูกเก็บหรือแชร์ออกไปไหนบ้าง ดังนั้น ควรสร้างความเชื่อใจให้กับลูกค้าโดยให้รายละเอียดนโยบายความเป็นส่วนตัว เป็นการแสดงความโปร่งใสและทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าคุณจะปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขา

Amazon ใช้เวลาเป็นสิบๆ ปีในการสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งที่ปลอดภัย และธุรกิจที่ขายผ่าน Amazon ได้อานิสงส์จากความเชื่อใจที่ลูกค้ามีมาอย่างเนิ่นนาน หากคุณทำเว็บไซต์ร้าน Ecommerce โดยใช้โดเมนตัวเอง คุณจำเป็นต้องหาบริการชำระเงินที่ปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการรั่วไหลของข้อมูลลูกค้า

การจัดการขนส่งสินค้าและระบบ Fulfillment เมื่อต้องขยายธุรกิจ

เมื่อคุณเริ่มทำ Ecommerce แรก ๆ การแพ็กของและส่งสินค้าจากบ้านอาจเป็นเรื่องง่าย แต่พอธุรกิจเริ่มโต กระบวนการเหล่านี้กลายเป็นเรื่องที่ใช้เวลานาน หากมีออเดอร์ขึ้นฉับพลันเป็นจำนวนมากก็จะทำให้คุณต้องใช้แรงมากขึ้น การใช้บริการ Fulfillment by Amazon จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา พร้อมคงความพึงพอใจของลูกค้าได้เหมือนเดิม
© 2021, Amazon.com Services LLC.