Blog : [Ecommerce Guide]

ไม่หวั่นแม้วิกฤติ: ธุรกิจ Ecommerce ทำเงินอย่างไรในยุคโควิด

เมื่อทั่วโลกยังคงเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง หลายประเทศยังคงอยู่ในสภาวะล็อคดาวน์ คนส่วนใหญ่ยังคงออกจากบ้านน้อยลง หรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไป สิ่งที่ตามมาคือปรากฏการณ์ Domino Effect ที่ธุรกิจค่อย ๆ สูญเสียลูกค้าและยอดขายเพราะจำนวนผู้ซื้อที่ลดลง หลายเจ้าเริ่มลดการผลิตหรือไม่ก็หยุดกิจการไป ตลาดการเงินโลกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สภาพตลาดจึงไม่สู้ดีนัก

ลูกค้าในยุคโรคระบาด

ผู้คนค่อย ๆ ปรับตัวให้คุ้นชินกับการอยู่บ้าน บางคนก็ทำงานที่บ้านไปโดยปริยาย ทำให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าเปลี่ยนไป การช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นช่องทางที่ดูปลอดภัยกว่าเมื่อต้องซื้อของกินของใช้หรือสินค้าสุขภาพ

เมื่อวิธีการช้อปปิ้งของผู้คนเปลี่ยน ย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ใหม่ แบรนด์ใหม่ สินค้าใหม่ ฯลฯ แม้แต่การเสิร์ชหาสินค้าก็ยังไม่เหมือนเดิม ในบางประเทศ ความกังวลต่อจำนวนสินค้าที่มีขายในท้องตลาดทำให้ผู้คนเริ่มตื่นตระหนกและแห่ตุนของล่วงหน้าเป็นเดือน มีการซื้อของบางประเภทมากขึ้นเป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางประเภทก็ลดลงอย่างน่าตกใจ นักธุรกิจในโลกยุคนี้อาจต้องสำรวจตลาด ว่าควรเลือกเพิ่มสต็อกของประเภทไหน และลดประเภทไหนเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์

Social Distancing ทำให้ยอดขายออนไลน์โต

ธุรกิจบางรายที่ยังดำเนินอยู่ก็ต้องเผชิญกับคำถามว่า จะปรับตัวกับลูกค้ากลุ่มใหม่และรับมือกับการขายของออนไลน์อย่างไร โลกออนไลน์กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และในโลกของ Ecommerce ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังปรับแผนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ณ เวลานี้ บริษัท Ecommerce หลาย ๆ แห่งกำลังเติบโต โดยเพิ่มเม็ดเงินทำโฆษณาออนไลน์และบน Social Media
Ecommerce ในยุค COVID-19

มุ่งเน้นที่ Revenue Growth หรืออัตราการเติบโตของรายได้

การสร้าง Loyalty ให้กับลูกค้า เป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญ สิ่งนี้จะได้มาก็ต่อเมื่อลูกค้าเชื่อใจแบรนด์ ทำให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน แบรนด์ออนไลน์ต้องสร้างความเชื่อใจให้กับลูกค้าในระดับที่เหนือความคาดหมายด้วย มาดูกันดีกว่าว่ามีเทคนิคอะไรบ้าง

● ทำให้ลูกค้าที่ยังลังเลหันมาซื้อของออนไลน์แทนออฟไลน์ ผ่านการแนะนำช่องทางชำระเงินที่น่าเชื่อถือ หรือจะพัฒนาช่องทางเดิมที่มีอยู่แล้วก็ได้ หลักการนี้ยังนำมาปรับกับส่วนอื่นได้อีก เช่น จัดหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ลูกค้าเจอของที่ต้องการง่ายขึ้น วิธีนี้จะมีประโยชน์มากเมื่อลูกค้าต้องการซื้อของออนไลน์กับสินค้าที่เฉพาะเจาะจงเป็นครั้งแรก เช่น ของกินของใช้
● แสดงข้อมูลสต็อกให้ลูกค้าเห็น บ่อยครั้งที่ความต้องการซื้อสินค้ามีสูง อาจทำให้ลูกค้าไม่สามารถสั่งของที่ต้องการได้ วิธียอดนิยมที่ผู้ขายมักทำคือแสดงตัวเลขให้ลูกค้าเห็นไปเลยว่าสินค้านี้ยังเหลือในสต็อกอีกกี่ชิ้น
● ทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าเขาจะได้สินค้าที่สั่งไว้ บริษัท Ecommerce หลายแห่งใช้วิธีการบอกระยะเวลาจัดส่งโดยประมาณ พร้อมอัปเดต Ads หรือ Notifications เพื่อให้ข้อความเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
● ให้ข้อเสนอที่น่าพึงพอใจ ลูกค้าอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องราคามาก แต่การทำโปรโมชั่นหรือส่วนลดก็เป็นเรื่องที่ดี นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกอื่น ๆ อาทิ ระบบสมาชิก โปรโมชั่นพิเศษ ส่งฟรี คืนสินค้าได้แบบง่าย ๆ ระบบสะสมแต้ม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าเกิดความภักดีและหันมาอุดหนุนธุรกิจคุณอีกครั้ง
● ให้ความสำคัญกับฝ่ายดูแลลูกค้า คอยแจ้งถึงประเด็นที่กังวล ปัญหา คำถามต่าง ๆ พร้อมสร้างภาพลักษณ์แง่บวกในด้านนี้

ทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคเล็กน้อยที่แบรนด์ Ecommerce สามารถนำไปปรับใช้ได้ในภาวะโรคระบาดนี้ แม้จะเป็นการปฏิบัติงานในระยะสั้นและรายได้อาจมาช้าหน่อย แต่ก็อยู่ในระดับที่พอรับได้ การแข่งขันที่แท้จริงจะเริ่มขึ้นหลังจากจบล็อคดาวน์ต่างหาก เพราะต้องมีการฟื้นฟูความเสียหายจากผลกระทบของโควิด-19

ถ้าอยากรู้ว่าผลกระทบเหล่านั้นมีอะไรบ้าง สามารถติดตามจากบทความอื่น ๆ จาก Amazon เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจว่าการขายของออนไลน์จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับคุณได้อย่างไร หรือสมัครบัญชีผู้ขายกับ Amazon ตอนนี้ เพื่อขยายโอกาสในการทำธุรกิจไปสู่ตลาดที่ใหญ่และหลากหลายมากขึ้น
© 2021, Amazon.com Services LLC.