Blog : [Ecommerce Guide]
จัดการ Fulfillment ให้ดี กระตุ้นยอดขายออนไลน์ได้หลายเท่า!
วิธีการทำ Fulfillment ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ Ecommerce ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตั้งแต่ลักษณะของธุรกิจ ประเภทสินค้าที่คุณขาย ทำเล และกลยุทธ์การตลาดเพื่อมัดใจลูกค้า
ขั้นตอนการทำ Fulfillment เป็นอย่างไร?
ทุกขั้นตอนของ Fulfillment คือโอกาสที่คุณจะได้พัฒนาทุกจุดให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่นาทีที่ลูกค้ากดสั่งซื้อไปจนถึงตอนแกะกล่องสินค้า ความล่าช้าหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อยอาจทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์แย่ ๆ ก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ การรู้จักและเข้าใจทุกขั้นตอนของ Fulfillment อย่างลึกซึ้งจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การรับสินค้าเข้าคลัง
ขั้นแรกเลย คือ การรับสินค้าของคุณเข้าสู่ศูนย์กระจายสินค้า หรือที่เรียกกันว่า การรับสินค้าเข้าคลัง สถานที่รับสินค้าอาจเป็นออฟฟิศของคุณ คลังสินค้า ศูนย์ Fulfillment หรือพื้นที่จัดเก็บสินค้าก็ได้
หากคุณจ้าง Outsource มาทำงานส่วนนี้ อย่าลืมแพ็กสินค้าด้วยวัสดุที่เหมาะกับการขนส่ง พร้อมฉลากสินค้าที่ชัดเจน วิธีนี้จะช่วยให้การรับสินค้าเข้าคลังไวขึ้น และยังอุ่นใจได้ว่าสินค้าของคุณพร้อมส่งถึงมือลูกค้า
หากคุณจ้าง Outsource มาทำงานส่วนนี้ อย่าลืมแพ็กสินค้าด้วยวัสดุที่เหมาะกับการขนส่ง พร้อมฉลากสินค้าที่ชัดเจน วิธีนี้จะช่วยให้การรับสินค้าเข้าคลังไวขึ้น และยังอุ่นใจได้ว่าสินค้าของคุณพร้อมส่งถึงมือลูกค้า
ปัญหาที่มักทำให้การรับสินค้าเข้าคลังล่าช้า
เรื่องเล็ก ๆ ที่ถูกมองข้ามสามารถสร้างความล่าช้าในการรับสินค้าเข้าคลังได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพื่อให้ทุกขั้นตอนการจัดส่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่นที่สุด เราแนะนำให้คุณยึดหลักเกณฑ์การขนส่งของ Amazon ดังนี้
● ไม่มัดรวมสินค้าหลายกล่องเข้าด้วยกัน
● กล่องส่งพัสดุไม่ควรมีบาร์โค้ดหรืออะไรก็ตามที่สแกนได้นอกจากฉลากข้อมูลขนส่ง
● อย่าแปะฉลากข้อมูลขนส่งไว้บนฝาปิดกล่องพัสดุ
● กล่องพัสดุควรสอดคล้องกับข้อกำหนดของ Amazon
● เพื่อป้องกันสินค้าเสียหายและลดแรงกระแทก ควรใช้โฟม ถุงลม หรือห่อกระดาษไว้ให้เต็มกล่อง แทนพวกโฟมตัวหนอนหรือกระดาษฝอย
● เช็คให้ชัวร์ว่าทุกกล่องพัสดุมีบาร์โค้ดที่สแกนได้จริง และแต่ละกล่องควรมีแค่บาร์โค้ดเดียว
● กรณีส่งสินค้าแบบ Case-packed (สินค้าจำนวนมากที่แพ็กมาในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่) จะต้องมีบาร์โค้ดแยกสำหรับทุกสินค้าข้างใน และไม่ควรมีบาร์โค้ดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ด้านนอก
● หมั่นตรวจสอบอยู่ตลอดว่าสินค้าแต่ละยูนิตได้รับการแพ็กอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหาย
● ไม่มัดรวมสินค้าหลายกล่องเข้าด้วยกัน
● กล่องส่งพัสดุไม่ควรมีบาร์โค้ดหรืออะไรก็ตามที่สแกนได้นอกจากฉลากข้อมูลขนส่ง
● อย่าแปะฉลากข้อมูลขนส่งไว้บนฝาปิดกล่องพัสดุ
● กล่องพัสดุควรสอดคล้องกับข้อกำหนดของ Amazon
● เพื่อป้องกันสินค้าเสียหายและลดแรงกระแทก ควรใช้โฟม ถุงลม หรือห่อกระดาษไว้ให้เต็มกล่อง แทนพวกโฟมตัวหนอนหรือกระดาษฝอย
● เช็คให้ชัวร์ว่าทุกกล่องพัสดุมีบาร์โค้ดที่สแกนได้จริง และแต่ละกล่องควรมีแค่บาร์โค้ดเดียว
● กรณีส่งสินค้าแบบ Case-packed (สินค้าจำนวนมากที่แพ็กมาในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่) จะต้องมีบาร์โค้ดแยกสำหรับทุกสินค้าข้างใน และไม่ควรมีบาร์โค้ดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ด้านนอก
● หมั่นตรวจสอบอยู่ตลอดว่าสินค้าแต่ละยูนิตได้รับการแพ็กอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหาย
การจัดเก็บสินค้าคงคลัง
สินค้าคงคลังคือแหล่งจัดเก็บคำสั่งซื้อสินค้าของคุณ หากคุณทำ In-House Fulfillment เอง คลังสินค้าของคุณก็มักเป็นสถานที่ ๆ เข้าถึงได้ง่ายอย่างบ้านหรือห้องเก็บของ แต่ธุรกิจใหญ่มักจำเป็นต้องใช้คลังสินค้าหรือโกดังเป็นที่จัดเก็บ
การจัดเก็บสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเทศกาลหรืองานใหญ่ อาทิ Prime Day หรือแคมเปญ 11.11
สินค้าแต่ละตัวควรมีโค้ดระบุ SKU (Stock Keeping Unit) เพื่อจำแนกไปสู่คลังสินค้าในแต่ละที่ จะช่วยให้คุณจัดการสินค้าคงคลังได้ดีขึ้น
การจัดเก็บสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเทศกาลหรืองานใหญ่ อาทิ Prime Day หรือแคมเปญ 11.11
สินค้าแต่ละตัวควรมีโค้ดระบุ SKU (Stock Keeping Unit) เพื่อจำแนกไปสู่คลังสินค้าในแต่ละที่ จะช่วยให้คุณจัดการสินค้าคงคลังได้ดีขึ้น
การดำเนินการคำสั่งซื้อ
เมื่อลูกค้าชำระเงินเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการดำเนินการคำสั่งซื้อ ได้แก่ กระบวนการเลือกสินค้า แพ็กสินค้า และเตรียมจัดส่ง
การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ใช่ถือเป็นสิ่งสำคัญในขั้นตอนการดำเนินการคำสั่งซื้อ โดยมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง ดังนี้
● กล่องพัสดุ
● ซองกระดาษหรือซองกันกระแทก
● วัสดุสำหรับแพ็กสินค้า เช่น พลาสติกบับเบิ้ลหรือถุงลม
ทั้งนี้ อย่าลืมทำตามข้อกำหนดการเตรียมการและแพ็กสินค้าของ Amazon เพื่อลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดระหว่างจัดส่ง
การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ใช่ถือเป็นสิ่งสำคัญในขั้นตอนการดำเนินการคำสั่งซื้อ โดยมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง ดังนี้
● กล่องพัสดุ
● ซองกระดาษหรือซองกันกระแทก
● วัสดุสำหรับแพ็กสินค้า เช่น พลาสติกบับเบิ้ลหรือถุงลม
ทั้งนี้ อย่าลืมทำตามข้อกำหนดการเตรียมการและแพ็กสินค้าของ Amazon เพื่อลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดระหว่างจัดส่ง
การจัดส่ง
หากคุณไม่ได้ใช้บริการอย่าง Fulfillment by Amazon หรือ FBA ขั้นตอนถัดไปในการทำ Fulfillment คือ การส่งสินค้าผ่านบริษัทขนส่งใหญ่ ๆ ซึ่งหากเป็นออเดอร์ขนาดเล็ก ก็สามารถจัดส่งได้ง่าย ๆ ที่ไปรษณีย์หรือจุดรับส่งพัสดุใกล้บ้าน แต่ถ้าเป็นออเดอร์ขนาดใหญ่ อาจต้องใช้บริษัทขนส่งมารับสินค้าจากศูนย์ Fulfillment หรือพื้นที่จัดเก็บสินค้าของธุรกิจคุณ
การแจ้งเตือนลูกค้าเมื่อจัดส่ง
แม้จะไม่ใช่ข้อบังคับของการทำ Fulfillment ในธุรกิจออนไลน์ แต่การใช้เครื่องมือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านการแจ้ง Tracking Number และบอกให้ลูกค้ารู้ว่าสินค้าจะมาถึงเมื่อไหร่ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ การใช้อีเมลหรือแจ้งหมายเลขพัสดุก็จะช่วยลดจำนวนลูกค้าที่โทรเข้า Customer Service เพื่อถามถึงสถานะสินค้าได้ด้วย
การคืนสินค้า
การคืนสินค้าถือเป็นเรื่องปกติและคาดการณ์ได้ในการทำธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าคุณจะทำ In-House Fulfillment เองหรือใช้บริการ Fulfillment ก็ควรจะมีขั้นตอนรับมือกับการคืนสินค้า การรีสต็อก การทิ้งสินค้ามีตำหนิ และคืนเงินให้กับลูกค้าด้วย
ในวงการขายของออนไลน์ เสื้อผ้าถือเป็นสินค้าที่มักถูกลูกค้าส่งคืนมากที่สุด คิดเป็น 75% ของการคืนสินค้าทั้งหมดเลยทีเดียว แต่ก็อย่าให้เรื่องการคืนสินค้าบั่นทอนกำลังใจคุณ หากคุณเป็นมือใหม่หัดทำ Ecommerce ก็ควรเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทสินค้าที่มีอัตราการคืนสูง พร้อมเตรียมนโยบายและขั้นตอนในการคืนสินค้าเอาไว้ด้วย แต่ถ้าคุณใช้บริการ FBA ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ Amazon จะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องคืนสินค้าในนามของคุณให้เอง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fulfillment ได้ที่:
• https://sell.amazon.co.th/blogs/2021/fulfillment-guide
• https://sell.amazon.co.th/blogs/2021/fulfillment-checklist
ในวงการขายของออนไลน์ เสื้อผ้าถือเป็นสินค้าที่มักถูกลูกค้าส่งคืนมากที่สุด คิดเป็น 75% ของการคืนสินค้าทั้งหมดเลยทีเดียว แต่ก็อย่าให้เรื่องการคืนสินค้าบั่นทอนกำลังใจคุณ หากคุณเป็นมือใหม่หัดทำ Ecommerce ก็ควรเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทสินค้าที่มีอัตราการคืนสูง พร้อมเตรียมนโยบายและขั้นตอนในการคืนสินค้าเอาไว้ด้วย แต่ถ้าคุณใช้บริการ FBA ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ Amazon จะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องคืนสินค้าในนามของคุณให้เอง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fulfillment ได้ที่:
• https://sell.amazon.co.th/blogs/2021/fulfillment-guide
• https://sell.amazon.co.th/blogs/2021/fulfillment-checklist