Blog : [Tips of selling on Amazon]

10 เรื่องที่ต้องรู้เมื่อขายของออนไลน์กับ Amazon ปี 2024

1. ขายของออนไลน์กับ Amazon หมายถึงอะไร

ตั้งแต่ปี 2000 Amazon สร้างพื้นที่ขายสินค้าออนไลน์ให้กับผู้ขายขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงระดับบริษัทใหญ่ ๆ มากมาย ช่วยให้ร้านค้าทุกรายเข้าถึงลูกค้าได้กว่า 300 ล้านคนทั่วโลก! พร้อมทั้งช่วยสร้างแบรนด์และต่อยอดธุรกิจให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง (Third-Party Sellers) ได้เติบโต จนปัจจุบันธุรกิจเหล่านี้ขายสินค้าได้มากกว่าสินค้าที่ Amazon ของเราขายเองเสียอีก!

2. ใครบ้างที่ขายของบน Amazon

พาร์ทเนอร์ผู้ขายของออนไลน์บน Amazon แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ผู้ขายและร้านค้า อธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้

ผู้ขาย (Sellers)

ผู้ขาย หมายถึง บริษัทที่เป็นเอกเทศหรือบุคคลที่ขายสินค้าบนร้านค้า Amazon เราเรียกกลุ่มผู้ขายเหล่านนี้ว่า Third-Party Sellers เพราะ Amazon ไม่ได้เป็น Seller of Record หรือขายเองโดยตรง

ร้านค้า (Vendors)

ร้านค้า หมายถึง บริษัทที่ได้รับเชิญให้ค้าปลีกกับ Amazon โดยที่ฝั่ง Amazon จะซื้อสินค้าจากบริษัทและขายต่อให้กับลูกค้า โดยร้านค้าเหล่านี้จะเรียกว่าเป็น First-Party Sellers เพราะถือว่า Amazon คือผู้ขายโดยตรง

ในขณะที่ร้านค้า (Vendors) ต้องได้รับคำเชิญจาก Amazon แต่ใคร ๆ ก็สามารถเป็น Third-Party Sellers ได้! คลิกเพื่อเรียนรู้การขายกับ Amazon เลย!
ขายของออนไลน์บน Amazon

3. มีวิธีขายอย่างไรบ้าง

ขายบน Amazon Store

ในปัจจุบัน Amazon มีร้านค้าออนไลน์กว่า 16 แห่งทั่วโลก ช่วยให้ผู้ขาย หรือผู้ประกอบการ SME สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นต้องไปเปิดร้านในที่ใดที่หนึ่ง พร้อมสร้างแบรนด์และทำให้สินค้าให้เป็นที่รู้จักโดยลูกค้าหลายล้านรายในมาร์เกตเพลสของ Amazon

Amazon Business

ด้วยชุดเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อ B2B E-Commerce โดยเฉพาะ Amazon Business ช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ค้นพบวิธีใหม่ ๆ ในการดูแลลูกค้าทางธุรกิจออนไลน์ผ่านประสบการณ์ Amazon ที่น่าเชื่อถือได้

Amazon Handmade

ร้านค้า Handmade มีไว้สำหรับช่างฝีมือที่อยากขายสินค้าแฮนด์เมดให้กับลูกค้า Amazon หลายล้านคนทั่วโลก โดย Amazon จะใช้ระบบการสมัครเพื่อคัดช่างฝีมือเข้าไปในกลุ่มสินค้าแฮนด์เมด เพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้อย่างมั่นใจ

และอีกมากมาย

Amazon ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์อิสระในสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง รวมทั้งผู้ขาย นักประพันธ์ คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ นักดีเวลลอปเปอร์ ธุรกิจเดลิเวอรี่ ผู้ให้บริการ IT และอีกมากมาย เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น สร้างธุรกิจให้โตขึ้น หรือบรรลุความต้องการของผู้ประกอบการได้มากขึ้น

4. สินค้าแบบไหนที่ขายบน Amazon ได้

ประเภทสินค้า

สินค้าบางประเภทเปิดให้ผู้ขายทุกรายจำหน่ายได้ แต่บางประเภทก็จำเป็นต้องมีบัญชีผู้ขาย Professional บางประเภทก็ต้องขออนุมัติก่อนขาย และบางประเภทก็ไม่สามารถให้ Third-Party Sellers จำหน่ายได้ คุณสามารถดูประเภทสินค้าและรายละเอียดของแต่ละเภทต่าง ๆ ได้ที่หน้าหมวดหมู่สินค้า

สินค้าที่ต้องขออนุมัติ

สินค้าบางประเภท อยู่ในหมวดหมู่ที่ต้องขออนุมัติ และบางประเภทอาจไม่สามารถแสดงรายการสินค้าได้เลย เนื่องจากเหตุผลด้านกฎหมายและข้อบังคับ (เช่น ยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์) หรือนโยบายของ Amazon (เช่น สินค้ายาสูบ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่ในหมวดช่วยเหลือของหน้าสินค้าที่มีข้อจำกัด

5. ลูกค้า Amazon คือใคร

สมาชิก Prime

สมาชิก Amazon Prime จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งฟรีและรวดเร็วสำหรับคำสั่งซื้อที่ร่วมรายการ ได้ดูภาพยนตร์ รายการทีวี ฟังเพลง ได้ดีลและสินค้าพิเศษ ได้อ่านหนังสือแบบไม่จำกัด และอีกมากมาย ลูกค้า Amazon หลายคนมองหาสินค้าที่มีป้าย Prime เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการส่งไวและส่งฟรี โดย Third Party Sellers ยังสามารถทำโปรโมชันที่น่าดึงดูดกว่าเดิมให้กับสมาชิก Amazon Prime ทั่วโลก ผ่านการใช้บริการ Fulfillment by Amazon (FBA) โดยผู้ขายสามารถส่งออกสินค้าไปยังศูนย์ Fulfillment ของ Amazon จากนั้น Amazon จะเลือกสินค้า แพ็กสินค้า และส่งสินค้าพร้อมช่วยจัดการเรื่อง Customer Service หรือการคืนสินค้า การใช้บริการ FBA จัดส่งสินค้าถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการที่จะได้ป้าย Prime สำหรับโปรโมชันส่วนใหญ่

รีวิวลูกค้า

ลูกค้าจะเขียนรีวิวสินค้าผ่าน Amazon หรือช่องทางอื่น ๆ พร้อมให้คะแนนอิงจากดาว 5 ดวง รีวิวลูกค้าคือส่วนสำคัญของประสบการณ์ซื้อของบน Amazon ซึ่งมีประโยชน์กับทั้งลูกค้าและผู้ขาย การที่ผู้ขายได้ศึกษาและรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด เกี่ยวกับการรีวิวนั้นถือเป็นสิ่งที่ดี เพื่อที่จะได้รีวิวมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการละเมิดนโยบายต่าง ๆ

6. เราออกแบบร้านค้าบน Amazon ได้อย่างไรบ้าง

หน้ารายละเอียดสินค้า

หากคุณเคยช้อปกับ Amazon มาก่อน ก็น่าจะพอจำรูปแบบของหน้ารายละเอียดสินค้าได้บ้าง โดยจะเป็นหน้าเพจที่ ลูกค้าสามารถดูข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าแต่ละชิ้น

เมื่อมีผู้ขายหลายคนขายสินค้าเดียวกัน Amazon จะรวบรวมข้อมูลโปรโมชันทั้งหมดไว้ในหน้ารายละเอียดสินค้าเพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ผู้ขายสามารถนำเสนอข้อมูลสินค้าไว้บนหน้ารายละเอียดสินค้าไปพร้อมกับผู้ขายหรือผู้ผลิตเจ้าอื่น ๆ และถ้าพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง ก็สามารถขอตรวจสอบรายละเอียดได้

A+ Content

A+ Content เปิดให้แบรนด์บรรยายคุณลักษณะสินค้าแบบใหม่ โดยนำเรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพิ่มรูปที่มีคุณภาพ และตำแหน่งข้อความที่อาจช่วยเพิ่ม Conversion Rate เพิ่ม Traffic และเพิ่มยอดขายได้ ถ้านำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร้านค้า Amazon

ร้านค้า (Store) คือพื้นที่ของแบรนด์บน Amazon ที่ฟรี ใช้บริการเองได้ โดยแบรนด์สามารถทำคอนเทนต์ที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ และช่วยให้ลูกค้าค้นพบสินค้าที่ต้องการได้ ฟีเจอร์นี้ยังสามารถให้ Third-Party Sellers โชว์แบรนด์และสินค้าได้หลายหน้า เพิ่มประสบการณ์การช้อปให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

7. ผู้ขาย Amazon บริหารธุรกิจกันที่ไหน?

Seller Central

Seller Central คือเว็บไซต์ที่ผู้ขายสามารถล็อกอินเข้าไปเพื่อสอดส่องยอดขายสินค้าบน Amazon โดยผู้ขายสามารถจัดการธุรกิจออนไลน์บน Amazon ส่วนใหญ่ได้จาก Seller Central ไม่ว่าจะเป็นสินค้าคงคลัง อัปเดตราคา การสื่อสารกับลูกค้า รีวิวผลประกอบการ ติดต่อฝ่ายสนับสนุน เพิ่มสินค้าตัวใหม่ ฯลฯ

Marketplace Appstore

Marketplace Appstore เปรียบเสมือนร้านค้าที่ช่วยผู้ขายค้นหาซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจออนไลน์ ตั้งแต่การตั้งราคาโดยระบบอัตโนมัติ เครื่องมือสร้างรายการสินค้า ไปจนถึงงานศึกษาหาข้อมูลสินค้า แอปพลิเคชันหลายตัวมักมุ่งเน้นไปที่การทำระบบอัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ขายไม่ต้องทำงานหรือกิจวัตรประจำวันที่ใช้เวลาเยอะเหมือนเมื่อก่อน เช่น ศึกษาหาข้อมูลสินค้า กรอกแบบฟอร์มภาษี หรือสร้างรีพอร์ตเอง

Service Provider Network

Service Provider Network ของ Amazon นำเสนอแหล่งรวมรายชื่อบริษัททั่วโลกที่ช่วยจัดการเรื่องการขายต่าง ๆ บน Amazon ให้กับธุรกิจคุณ โดย Amazon มีการตรวจสอบผู้ให้บริการและคอยสอดส่องผลการดำเนินงานอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ามีแต่ผู้ให้บริการที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ

8. ผู้ขาย Amazon ทำโฆษณาสินค้าอย่างไร

สินค้า Sponsored

สินค้า Sponsored คือการโฆษณาสำหรับสินค้าแต่ละรายการบน Amazon โดยจะปรากฎในหน้าแสดงผลลัพธ์สินค้าและหน้ารายละเอียดสินค้า

แบรนด์ Sponsored

แบรนด์ Sponsored หรือแบรนด์ที่ได้รับการสนับสนุน จะเป็นการโชว์ทั้งแบรนด์และผลงานสินค้า ซึ่งจะมีโลโก้แบรนด์ พาดหัวที่กำหนดเอง และตัวเลือกสินค้าที่กำหนดเองปรากฎในหน้าแสดงผลลัพธ์สินค้า ช่วยเพิ่มทั้งยอดขายและจำนวนคนที่มองเห็นสินค้า

การแสดงสินค้าแบบ Sponsored

การแสดงสินค้าแบบ Sponsored เป็นวิธีการทำโฆษณาด้วยตัวเองแบบใหม่ที่ทำให้ผู้ลงโฆษณาเข้าถึงลูกค้าที่เกี่ยวข้องตลอดขั้นตอนการซื้อของด้วยโฆษณาที่ปรากฎอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในและนอก Amazon

9. ผู้ขาย Amazon ขายสินค้าและโปรโมตในร้านค้า Amazon อย่างไร

ผู้ขายสามารถสร้างยอดขาย เปิดตัวสินค้าใหม่ เพิ่มรีวิว เคลียร์คลังสินค้า ทำให้คนเห็นสินค้าเยอะขึ้น ฯลฯ ได้ด้วยการทำโฆษณา โปรโมชัน ดีล และคูปอง

โปรโมชัน

ผู้ขายสามารถนำเสนอโปรโมชันส่งฟรี ลดราคา หรือข้อเสนอซื้อหนึ่งแถมหนึ่งให้กับลูกค้าได้

ดีล

Flash Sales หรือข้อเสนอสุดพิเศษในเวลาจำกัดก็เป็นสิ่งที่ผู้ขายสามารถกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในราคาถูกกว่าเดิมได้

คูปอง

ผู้ขายสามารถให้คูปองในหน้าผลลัพธ์สินค้า หน้ารายละเอียดสินค้า หรือในตะกร้าสินค้าของลูกค้าก็ได้เช่นกัน
Fulfillment by Amazon (FBA)

10. ผู้ขาย Amazon จัดส่งสินค้าอย่างไร

เมื่อลูกค้า Amazon ซื้อสินค้า ทาง Amazon สามารถส่งออกสินค้าแทนผู้ขายได้ผ่านบริการ Fulfillment by Amazon (FBA) หรือผู้ขายสามารถบริหารและจัดการคลังสินค้าด้วยตัวเองก็ได้ ผู้ขาย Amazon ส่วนใหญ่มักใช้ทั้งสองวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า

การจัดส่งแบบ Prime

ลูกค้า Amazon หลายรายมองหาสินค้าที่มีป้าย Prime เพราะเป็นสิ่งที่สื่อถึงการจัดส่งที่รวดเร็วและฟรี การใช้บริการ FBA เพื่อจัดส่งสินค้าถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการที่จะได้ป้าย Prime สำหรับโปรโมชันส่วนใหญ่

Fulfillment by Amazon (FBA)

เมื่อผู้ขายลงทะเบียนขายในร้านค้า Amazon พวกเขาจะถูกลงทะเบียนในบริการ FBA โดยอัตโนมัติ หากผู้ขายตัดสินใจใช้บริการ ก็เพียงแค่ส่งสินค้าเข้าศูนย์ Fulfillment ของ Amazon จากนั้นทาง Amazon จะจัดการเรื่องการส่งสินค้า บริการ Customer Service การคืนเงิน และการคืนสินค้าให้

ผู้ขายทำ Fulfillment เอง

ผู้ขายหลายรายอาจมีสินค้าที่ไม่เอื้ออำนวยให้ใช้บริการ FBA เท่าไหร่ เช่น สินค้าอันตรายที่ไม่เข้าเกณฑ์ของศูนย์ Fulfillment หรือสินค้าตามฤดูกาลที่ทำให้ต้องเสียค่าธรรมเนียมคลังสินค้ามากเกินไป ผู้ขายอาจมีเครือข่ายโลจิสติกส์อยู่แล้ว หรืออาจมีเหตุผลทางธุรกิจอื่น ๆ ในการบริหารและจัดการคลังสินค้าด้วยตัวเอง

เมื่อทำความเข้าใจการขายบน Amazon อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็เริ่มขายของบน Amazon กันเลย!
© 2021, Amazon.com Services LLC.